ไม่น่าเชื่อว่าวัชพืช ที่พบได้ทั่วไปตามทุ่งหญ้า หรือข้างถนน ที่คนส่วนใหญ่มองข้าม แต่มันกลับมีประโยชน์ต่อร่างกายแบบคาดไม่ถึง นายแพทย์ สมชัย นิจพานิช
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยถึงประโยชน์ของ
“หญ้าดอกขาว”
ว่าจากการวิจัยนั้นหญ้าดังกล่าวมีสรรพคุณช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่
และยังมีสารที่ช่วยดูดสารพิษออกจากปอดได้อีกด้วย “หญ้าดอกขาว” เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีดอกสีขาวโคนเป็นสีชมพู
มีขึ่นกระจายทั่วไปตามที่รกร้างข้างทาง พบได้ง่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ซึ่งคนส่วนใหญ่จะพบเห็นเป็นประจำ
ส่วนวิธีการนำหญ้าดอกขาวมาผลิตเป็นยานั้น
ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เนื่องจากหญ้าดอกขาวเราสามารถหาได้ทั่วไป นำมาประมาณ 1 กำมือ
แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด เด็ดใบเสีย หรือเหี่ยวเน่าทิ้งไป แล้วนำใส่หม้อต้มน้ำ
เติมน้ำให้ท่วม ตั้งไฟทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม
สามารถดื่มแทนน้ำเปล่าโดยค่อยๆ จิบ หรือจะดื่มเป็นมื้อๆ ก็ได้ มื้อละ 1 แก้ว
ทั้งนี้ หญ้า 1 กำมือสามารถต้มซ้ำกันได้ 3 ครั้ง ไม่ควรเกินนี้
เพราะอาจจะทำให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกายได้ ส่วนระยะเวลาในการเห็นผล
อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
เนื่องจากตัวยาใน “หญ้าดอกขาว” นั้นจะไปเคลือบที่ต่อมรับรสของลิ้น
ทำให้เวลาสูบบุหรี่ จะไม่รู้รส หรือรู้สึกฝาดๆ
ลิ้นทำให้การอยากสูบบุหรี่ลดลงตามนั้นเอง
นอกจากนี้การดื่มน้ำที่ต้มจากหญ้าดอกขาวยังสามารถใช้ทานแก้ปวดท้อง, ท้องขึ้นได้อีกด้วย
ทั้งนี้ นพ.สมชัย ยังกล่าวอีกว่า การทานสมุนไพร หรือตัวยาทุกชนิด ถ้าทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ย่อมมีสารตกค้างอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทานยาสมุนไพรด้วย นอกจากจะได้สรรพคุณตัวยาหลายขนานแล้ว ยังได้สุขภาพที่ดีอีกด้วยซึ่งขณะนี้ ทางกรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำการวิจัย และคาดว่าจะผลิตตัวยานี้ออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้ โดยตัวยาจะผลิตเป็นแผ่นฟิล์มละลายในปาก ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย
ทั้งนี้ นพ.สมชัย ยังกล่าวอีกว่า การทานสมุนไพร หรือตัวยาทุกชนิด ถ้าทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ย่อมมีสารตกค้างอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทานยาสมุนไพรด้วย นอกจากจะได้สรรพคุณตัวยาหลายขนานแล้ว ยังได้สุขภาพที่ดีอีกด้วยซึ่งขณะนี้ ทางกรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำการวิจัย และคาดว่าจะผลิตตัวยานี้ออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้ โดยตัวยาจะผลิตเป็นแผ่นฟิล์มละลายในปาก ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย