ชาวเยอรมนีเริ่มจัดพิธีรำลึกถึงการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
ซึ่งแบ่งแยกเยอรมนีออกเป็น 2 ส่วน
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว โดยในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นวันครบรอบ
25 ปีของเหตุการณ์ดังกล่าว แต่กำแพงซึ่งถูกขนานนามว่า เป็น
"สัญลักษณ์แห่งสงครามเย็น" และความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งตั้งตระหง่านตั้งแต่ ค.ศ. 1961-1989
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1945
– ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงกองทัพพันธ์มิตรจัดการประชุมขึ้นที่พระราชวังลิวาเดีย
ในเมืองยัลตา ในแคว้นไครเมีย แบ่งแยกการยึดครองเยอรมนีออกเป็น 4 ส่วน ฝรั่งเศส,
อังกฤษ และสหรัฐฯ ควบคุมฝั่งตะวันออก โซเวียตควบคุมฝั่งตะวันตก
และแบ่งการควบคุมกรุงเบอร์ลินออกเป็น 4 ส่วน
ค.ศ.
1949
– พื้นที่ฝั่งตะวันตกของเยอรมนีที่ถูกฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐฯ ควบคุม กลายเป็น เยอรมนีตะวันตก หรือ
สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกกลายเป็น เยอรมนีตะวันออก
หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี โดยเยอรมนีตะวันตกปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
ส่วนเยอรมนีตะวันออกปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
ค.ศ.
1949-1961 - ชาวเยอรมนีตะวันออกราว 3 ล้านคน หลบหนีไปยังฝั่งตะวันตก
โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวต่างชาติ ชาวเยอรมันตะวันตก, ชาวเบอร์ลินตะวันตก และเจ้าหน้าที่กองกำลังพันธมิตร
ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าเยอรมนีตะวันออกได้ แต่ชาวเยอรมนีตะวันออกต้องมีใบผ่านทางพิเศษ
จึงจะสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้
12
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– นายวอลเตอร์ อุลบริคต์ ผู้นำพรรคคอมมิวนิตส์แก่งเยอรมนีตะวันออก
ลงนามคำสั่งสร้างรั้วกั้นแบ่งแยกกรุงเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก
13
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– อีริค ฮอเนคเคอร์ หัวหน้ากองกำลังความมั่นคงแห่งเยอรมนีตะวันออก
สั่งการตำรวจและทหารเริ่มการก่อสร้างรั้วลวดหนาม
15
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– เริ่มมีการสร้างกำแพงคอนกรีตขึ้นเป็นครั้งแรก
18
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– นายลืนดอน บี. จอห์นสัน รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น
และพลเอกลูเซียส ดี. เคลย์ เดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่อแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ
สนับสนุนเยอรมนีตะวันตก
21
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– ทหารสหรัฐฯ จำนวนราว 1,500 นาย เดินทางถึงกรุงเบอร์ลินตะวันตก
23
สิงหาคม ค.ศ. 1961
– ทางการเยอรมนีตะวันออก
ประกาศห้ามชาวเบอร์ลินตะวันออกเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตกโดยไม่ได้รับอนุญาต
26
มิถุนายน ค.ศ. 1963
– ประธานาธิบดีจอห์น แอฟ. เคนเนดี
กล่าวปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่ศาลาว่าการเก่าในเบอร์ลินตะวันตก เน้นย้ำเรื่องเสรีภาพ
และความภูมิใจที่เป็นชาวเบอร์ลิน
กันยายน
ค.ศ. 1971
– มีการบรรลุข้อตกลงอนุญาตให้เบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก
สามารถนำเข้าและส่งออกสินค้าซึ่งกันและกันได้
ธันวาคม
ค.ศ. 1972
– เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก
ลงนามสนธิสัญญาปรับความสำคัญทางการทูตสู่ระดับปกติ และยอมรับอธิปไตยซึ่งกันและกัน
12
มิถุนายน ค.ศ. 1987
– ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐฯ กล่าวปราศรัยที่ประตู
บรานเดนบวร์ก ท้าทายให้ประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาพโซเวียต
ทำลายกำแพงเบอร์ลิน
3
เมษายน ค.ศ. 1989
– กองกำลังคุ้มกันชายแดนของเยอรมนีตะวันออก
ได้รับคำสั่งให้ยุติการใช้อาวุธปืน เพื่อป้องกันเหตุความรุนแรงบริเวณชายแดน
18
ตุลาคม ค.ศ. 1989
– นายอีริค ฮอนเนคเคอร์
ที่ในขณะนั้นเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีตะวันออก ถูกขับออกจากตำแหน่ง
และแทนที่โดย นายเอกอน เครนซ์
1
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– ชาวเยอรมันตะวันออกหลายแสนคนร่วมการเดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพ
และเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งเสรี
2
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– นายเอกอน เครนซ์ ออกมาให้คำมั่นว่าจะปฏิรูปนโยบายและเศรษฐกิจ
6
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– รัฐสภาเบอร์ลินตะวันออกผ่านกฎหมายให้สิทธิการเดินทางและการย้ายถิ่นแก่พลเรือน
7
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– คณะรัฐมนตรีของเยอรมนีตะวันออก ลาออกทั้งคณะ
และมีการเปลี่ยนสมาชิกคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์กว่าครึ่ง
9
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– เยอรมนีตะวันออก ยกเลิกการห้ามเดินทางไปยังเยอรมนีตะวันตก
มีผลบังคับใช้ทันที
9-10
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– ชาวเยอรมันตะวันออกช่วยกันทำลายกำแพงเบอร์ลินทีละเล็กละน้อย
10
พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
– ผลจากการทำลายกำแพงเบอร์ลิน
ทำให้มีการเปิดเส้นทางข้ามพรมแดนใหม่เกิดขึ้นมากมาย
และชาวเบอร์ลินตะวันออกหลายหมื่นคนก็เดินทางข้ามไปยังเบอร์ลินตะวันตก