วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 8 มะตะบะดอกไม้

มะตะบะดอกไม้ 
          ... กรุบกรอบกับมะตะบะไส้ไข่ ผักรวม สมุนไพร และดอกไม้นานาชนิด น่าทานๆ

ขอขอบคุณ  ข้อมูล  ภาพสวยๆ  จากไทยรัฐ  ทั้ง  8  เมนูค่ะ

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 7 เมี่ยงดอกไม้

เมี่ยงดอกไม้ 
           ... เมนูสุขภาพ เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด สุดฟิน ><

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ในปี2014 นี้ครบรอบ 25 ปี กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย

            ชาวเยอรมนีเริ่มจัดพิธีรำลึกถึงการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ซึ่งแบ่งแยกเยอรมนีออกเป็น 2 ส่วน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว โดยในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นวันครบรอบ 25 ปีของเหตุการณ์ดังกล่าว แต่กำแพงซึ่งถูกขนานนามว่า เป็น "สัญลักษณ์แห่งสงครามเย็น" และความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งตั้งตระหง่านตั้งแต่ ค.ศ. 1961-1989
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงกองทัพพันธ์มิตรจัดการประชุมขึ้นที่พระราชวังลิวาเดีย ในเมืองยัลตา ในแคว้นไครเมีย แบ่งแยกการยึดครองเยอรมนีออกเป็น 4 ส่วน ฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐฯ ควบคุมฝั่งตะวันออก โซเวียตควบคุมฝั่งตะวันตก และแบ่งการควบคุมกรุงเบอร์ลินออกเป็น 4 ส่วน

ค.ศ. 1949พื้นที่ฝั่งตะวันตกของเยอรมนีที่ถูกฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐฯ ควบคุม กลายเป็น เยอรมนีตะวันตก หรือ สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกกลายเป็น เยอรมนีตะวันออก หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี โดยเยอรมนีตะวันตกปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ส่วนเยอรมนีตะวันออกปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

ค.ศ. 1949-1961 - ชาวเยอรมนีตะวันออกราว 3 ล้านคน หลบหนีไปยังฝั่งตะวันตก โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวต่างชาติ ชาวเยอรมันตะวันตก, ชาวเบอร์ลินตะวันตก และเจ้าหน้าที่กองกำลังพันธมิตร ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าเยอรมนีตะวันออกได้ แต่ชาวเยอรมนีตะวันออกต้องมีใบผ่านทางพิเศษ จึงจะสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้

12 สิงหาคม ค.ศ. 1961นายวอลเตอร์ อุลบริคต์ ผู้นำพรรคคอมมิวนิตส์แก่งเยอรมนีตะวันออก ลงนามคำสั่งสร้างรั้วกั้นแบ่งแยกกรุงเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก

13 สิงหาคม ค.ศ. 1961อีริค ฮอเนคเคอร์ หัวหน้ากองกำลังความมั่นคงแห่งเยอรมนีตะวันออก สั่งการตำรวจและทหารเริ่มการก่อสร้างรั้วลวดหนาม

15 สิงหาคม ค.ศ. 1961เริ่มมีการสร้างกำแพงคอนกรีตขึ้นเป็นครั้งแรก

18 สิงหาคม ค.ศ. 1961นายลืนดอน บี. จอห์นสัน รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น และพลเอกลูเซียส ดี. เคลย์ เดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่อแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ สนับสนุนเยอรมนีตะวันตก

21 สิงหาคม ค.ศ. 1961ทหารสหรัฐฯ จำนวนราว 1,500 นาย เดินทางถึงกรุงเบอร์ลินตะวันตก

23 สิงหาคม ค.ศ. 1961ทางการเยอรมนีตะวันออก ประกาศห้ามชาวเบอร์ลินตะวันออกเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตกโดยไม่ได้รับอนุญาต

26 มิถุนายน ค.ศ. 1963ประธานาธิบดีจอห์น แอฟ. เคนเนดี กล่าวปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่ศาลาว่าการเก่าในเบอร์ลินตะวันตก เน้นย้ำเรื่องเสรีภาพ และความภูมิใจที่เป็นชาวเบอร์ลิน

กันยายน ค.ศ. 1971มีการบรรลุข้อตกลงอนุญาตให้เบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก สามารถนำเข้าและส่งออกสินค้าซึ่งกันและกันได้

ธันวาคม ค.ศ. 1972เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก ลงนามสนธิสัญญาปรับความสำคัญทางการทูตสู่ระดับปกติ และยอมรับอธิปไตยซึ่งกันและกัน

12 มิถุนายน ค.ศ. 1987ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐฯ กล่าวปราศรัยที่ประตู บรานเดนบวร์ก ท้าทายให้ประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ทำลายกำแพงเบอร์ลิน

3 เมษายน ค.ศ. 1989กองกำลังคุ้มกันชายแดนของเยอรมนีตะวันออก ได้รับคำสั่งให้ยุติการใช้อาวุธปืน เพื่อป้องกันเหตุความรุนแรงบริเวณชายแดน

18 ตุลาคม ค.ศ. 1989นายอีริค ฮอนเนคเคอร์ ที่ในขณะนั้นเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีตะวันออก ถูกขับออกจากตำแหน่ง และแทนที่โดย นายเอกอน เครนซ์

1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989ชาวเยอรมันตะวันออกหลายแสนคนร่วมการเดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพ และเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งเสรี

2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989นายเอกอน เครนซ์ ออกมาให้คำมั่นว่าจะปฏิรูปนโยบายและเศรษฐกิจ

6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989รัฐสภาเบอร์ลินตะวันออกผ่านกฎหมายให้สิทธิการเดินทางและการย้ายถิ่นแก่พลเรือน

7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989คณะรัฐมนตรีของเยอรมนีตะวันออก ลาออกทั้งคณะ และมีการเปลี่ยนสมาชิกคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์กว่าครึ่ง

9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989เยอรมนีตะวันออก ยกเลิกการห้ามเดินทางไปยังเยอรมนีตะวันตก มีผลบังคับใช้ทันที

9-10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989ชาวเยอรมันตะวันออกช่วยกันทำลายกำแพงเบอร์ลินทีละเล็กละน้อย

10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989ผลจากการทำลายกำแพงเบอร์ลิน ทำให้มีการเปิดเส้นทางข้ามพรมแดนใหม่เกิดขึ้นมากมาย และชาวเบอร์ลินตะวันออกหลายหมื่นคนก็เดินทางข้ามไปยังเบอร์ลินตะวันตก


3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก รวมตัวเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 6 ข้าวยำดอกไม้

ข้าวยำดอกไม้ 
           ... เมนูสุขภาพยอดนิยมจากแดนใต้ หลากหลายสมุนไพรและดอกไม้สดสีสีนจัดจ้าน เสิร์ฟฟร้อมน้ำบูดสูตรใต้รสเยี่ยม

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 5 ส้มตำดอกไม้

ส้มตำดอกไม้
                ...รสจัดจ้าน เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียวธัญพืชไก่ขมิ้น ... ประโยชน์ครบครัน เฮลตี้สุดๆ

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 4 ขนมจีนดอกไม้แกงไตปลา

ขนมจีนดอกไม้แกงไตปลา 
             ... ขนมจีนแต่งแต้มด้วยสีสันจัดจ้านของดอกไม้นานาชนิด

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 3 ขนมจีนดอกไม้น้ำเงี้ยว

ขนมจีนดอกไม้น้ำเงี้ยว 
             ... เส้นขนมจีนหลากสีสันให้เลือกรับประทานพร้อมน้ำเงี้ยว

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 2 ยำลูกชิด

ยำลูกชิด 
       ... ลูกชิดอบแห้งย้อมสีธรรมชาติ คลุกด้วยแห้ว ใบบัวบก มะพร้าวเผา และหมูสับ อีกหนึ่งไอเดียบรรเจิดที่ไม่ควรพลาด !

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เมนูดอกไม้หลากสีสัน 1 ยำดอกกระเจี๊ยบ

ยำดอกกระเจี๊ยบ 
         ... ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่มยำพร้อมผักนานาชนิด สารพัดประโยชน์เพื่อคุณโดยเฉพาะ !