ดัชนีความสุขของโลก แฮปปี้ เพลนเนต อินเด็กซ์ ชี้ ไทยมีคะแนนดีขึ้นได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 20 ของโลก เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นโก (cnngo.com) ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลสำรวจดัชนีความสุขของโลก “แฮปปี้ เพลนเนต อินเด็กซ์” หรือเอชพีไอ ที่จัดทำขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ของอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าในปี 2555 นี้ ประเทศ ไทยมีคะแนนดีขึ้นมาก ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 20 ของโลก จากสถิติเดิมอันดับที่ 41 ในปี 2552 และอันดับที่ 32 ในปี 2549
สำหรับการจัดอันดับประเทศอื่นๆทั้งหมด
151 ชาติ อันดับ 1 คือ คอสตาริกา 2.เวียดนาม 3.โคลอมเบีย
4.เบลิซ 5.เอลซัลวาดอร์ 6.จาเมกา 7.ปานามา 8. นิการากัว 9.เวเนซุเอลา และ 10.กัวเตมาลา
ซึ่งในอันดับท็อปเท็นนี้เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้ถึง 7 ประเทศ ตามด้วยอันดับ 11.บังกลาเทศ 12.คิวบา 13.ฮอนดูรัส 14.อินโดนีเซีย
15. อิสราเอล 16. ปากีสถาน 17. อาร์เจนตินา 18.แอลเบเนีย 19.ชิลี
และอันดับ 20 ไทย ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่าง
สปป.ลาว ได้อันดับที่ 37 พม่าอันดับที่ 61 มาเลเซียอันดับที่ 84 กัมพูชาอันดับที่ 85 และสิงคโปร์อันดับที่ 90
ส่วนประเทศอื่นๆรวมถึงชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้น
ได้แก่ อันดับ 29 นอร์เวย์ 34.สวิตเซอร์- แลนด์ 41.อังกฤษ 45.ญี่ปุ่น 46.เยอรมนี 50.ฝรั่งเศส
51.อิตาลี 52.สวีเดน 60.จีน 62.สเปน 63.เกาหลีใต้ 78.ออสเตรเลีย และอันดับที่ 105.สหรัฐฯ ขณะที่เดนมาร์กชาติที่เคยได้รับการจัดอันดับว่ามีความสุขที่สุดในโลกโดยดัชนีความสุขของสหประชาชาตินั้น
ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 110
ต่ำกว่าอัฟกานิสถานซึ่งอยู่อันดับที่ 109
ส่วนชาติที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีความสุขน้อยที่สุดในโลกคือ 142.แอฟริกาใต้ 143.คูเวต 144. ไนเจอร์
145.มองโกเลีย 146.บาห์เรน 147.มาลี 148.สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 149.กาตาร์ 150.ชาด และ 151.บอสวานา
ทั้งนี้ นายนิค มาร์ค
นักวิจัยของมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่เผยว่า
การจัดอันดับครั้งนี้ใช้สูตรการคำนวณแบบใหม่ที่จะแสดงให้เห็นว่าแต่ละประเทศมีประสิทธิ-ภาพมากน้อยเพียงใดในการทำให้ประชาชนและคนรุ่นหลังอยู่อย่างสุขสบาย
โดยจะคำนวณอัตราส่วนของจำนวนปีที่คนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและค่าเฉลี่ยอายุขัยของคนในประเทศ
นำมาเทียบกับหน่วยการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กล่าวคือบางประเทศถึงประชากรจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
แต่หากใช้ทรัพยากรที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาก ประเทศนั้นก็จะได้คะแนนน้อย
ขณะที่บางประเทศประชากรมีความสุขปานกลางแต่ใช้ทรัพยากรน้อยก็จะได้คะแนนสูง
ยกตัวอย่างไทย ที่มีค่าเฉลี่ยอายุขัย 74.1 แต่คะแนนทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ 2.4 ขณะที่สิงคโปร์มีค่าเฉลี่ยอายุขัย 81.1 แต่คะแนนทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ที่
6.1.